จัดลิ้นชักแล้วเจอโน้ตหนังสือ เศรษฐศาสตร์ความจน (Poor Economics) เลยเอามาบล็อกเก็บไว้
ปัญหาความยากจนนั้นเกิดจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ และปัจจัยสังคม โดยปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การศึกษา ทักษะ และทัศนคติของคนจน ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ หนี้สิน และโอกาสทางธุรกิจ ปัจจัยสังคม ได้แก่ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ นโยบายของรัฐบาล และอคติของคนในสังคม
ข้อมูลบางส่วนที่สรุปได้ มีดังนี้
- คนจนมีปัญหาเรื่องเก็บออมเพราะเมื่อมีเงินจะหมดไปกับสิ่งของยั่วใจเช่น ขนม เหล้า บุหรี่ ของใช้ไม่จำเป็น
- การฝันว่าจะมีทีวีดูก็เป็นความหวังอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เก็บออมเงินได้
- การจะช่วยคนจนคือ การทำให้เขาได้เข้าใกล้เป้าหมายง่ายขึ้นเพื่อที่จะเริ่มมีเป้าหมายแบบคนรวยได้บ้าง
- สินเชื่อทำให้คนจนมีธุรกิจที่เพิ่มรายได้ประมาณ 10% แต่ไม่ทำให้หลุดพ้นจากความจน
- คนจนทำธุรกิจเพราะหาอาชีพทั่วไปทำไม่ได้
- การมีงานที่มั่นคงเปลี่ยนทัศนคติที่คนมีต่อชีวิตได้อย่างสิ้นเชิง
- คนจนมักขาดข้อมูลสำคัญและเชื่อสิ่งผิดๆจึงตัดสินใจผิดพลาด จึงควรให้ข้อมูลโดยพูดถึงสิ่งที่คนยังไม่รู้ โดยใช้วิธีที่น่าดึงดูดใจและเรียบง่ายทั้งต้องมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
- คนจนรับผิดชอบมิติต่างๆ ของชีวิตตนเองมากเกินไป ยิ่งรวยเท่าไหร่ ภาระตรงนี้ยิ่งลดลงเพราะมีคนตัดสินใจสิ่งที่ถูกต้องให้
- มีเหตุให้เชื่อว่าตลาดบางตลาดสำหรับคนจนยังขาดหายไป หรือคนจนต้องจ่ายราคาแพงเกินเหตุ
- ประเทศยากจนไม่ได้ถูกกำหนดว่าจะต้องล้มเหลวเพราะยากจน หรือเพราะผ่านประวัติศาสตร์ที่เลวร้าย แต่มาจากปัญหา 3 อ. อวิชา อุดมการณ์ และความเอื่อยเฉื่อย
- ปรากฏการณ์ความคาดหวังสร้างความจริงโดยคาดหวังว่านักการเมืองเห็นแก่ตัวเขาจะเห็นแก่ตัวน้อยลง
- กับดักความจนอาจไม่มีอยู่จริง
- การสนับสนุนเงินอาจเป็นโทษ
จากข้อมูลเหล่านี้ แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน อาจทำได้โดย
- การให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นกับคนจน เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองและหารายได้ที่มั่นคงได้
- การสร้างโอกาสทางธุรกิจและการสนับสนุนคนจนในการประกอบอาชีพ
- การปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เอื้อต่อการลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนจน
- การลดอคติของคนในสังคมต่อคนจน
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจสาเหตุของความยากจนอย่างถ่องแท้ เพื่อให้สามารถกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ