แนวทางที่ผมใช้หยิบมาจากคำแนะนำของหลายๆ ท่านที่ใช้ในการศึกษาในระดับปริญญาตรี เนติบัณฑิต และการเตรียมสอบอัยการผู้ช่วย, ผู้ช่วยผู้พิพากษา โดยนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะนิสัยของตัวเอง และผลลัพธ์ที่ได้หลังจากการนำไปใช้ในแต่ละครั้ง จึงแนะนำให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่านเลือกใช้ ทดลองทำตาม และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเองครับ ไม่ควรนำไปใช้โดยไม่ผ่านการปรับเปลี่ยน เพราะอาจทำให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ เพราะทุกคนมีลักษณะนิสัยต่างกันหลายล้านแบบ ย่อมไม่มีแนวทางที่เป็นสูตรสำเร็จตายตัวครับ
แนวทาง
- รอบแรกอ่านเฉพาะแนวคิดและวัตถุประสงค์ทั้งหมดให้เห็นภาพรวมของแต่ละวิชา
- รอบสองอ่านเอกสารการสอนทั้งหมดโดยเขียนตอบกิจกรรมท้ายตอนทุกตอน
- อ่านหนังสือสรุปของสาขาวิชาเช่น หนังสือ อาญา 1 แพ่ง 1 กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน
- ทำข้อสอบในวารสารกฎหมายฉบับพิเศษบ่อยๆ จนเขียนคำตอบได้เหมือนหรือใกล้เคียงเฉลย
- นำคำแนะนำของอาจารย์ในส่วนของวิเคราะห์ข้อสอบมาปฏิบัติตาม
- ท่องตัวบทเฉพาะที่อยู่ในตัวอย่างในวารสารกฎหมายฉบับพิเศษทั้งสองเล่มให้ได้ก่อนครับ
- และดีที่สุดควรท่องตัวบททั้งหมดในแต่ละวิชา โดยจำเป็นคำสำคัญ ไม่ต้องท่องทั้งประโยค ถ้าจำเลขมาตราไม่ได้ก็พยายามท่องเรียงเลขไว้ จะได้ไม่จำสับกัน
- หัดทำข้อสอบเก่า
แนะนำอ่านเพิ่มเติม
- หนังสือ 4 ขั้นตอนสู่การเรียนกฎหมายให้สำเร็จ
- วิธีคลายเครียดจากการอ่านหนังสือ โดยเพจนักกฎหมายจอมป่วน
- เอกสารวิธีการเรียนด้วยตนเอง (ระบบการศึกษาทางไกล)
- หลักการตอบข้อสอบ กม.วิธีพิจารณาความอาญา 1 (ม.รามคำแหง)
- บทความ #เทคนิคจำตัวบท #ฉบับเรียบเรียงใหม่อย่างสมบูรณ์ โดยท่าน อภิรัฐ บุญทอง เรียบเรียงโดยอาจารย์กิ๊ก ผศ.ดร.ดวงเด่น นาคสีหราช